สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดแพร่ วันนี้เราจะพาทุกท่านออกจากป่ากันนะครับไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าหลวงกันนะครับ คุ้มเจ้าหลวง ตั้งอยู่ที่ในเขตกำแพงเมืองเก่าแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น   หลังคามุงด้วยไม้เรียกว่า “ไม้แป้นเกล็ด” ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยามีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ด้านหน้าของตัวอาคารหลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยมทั้งปั้นลมและ ชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะ ฉลุสลักลวดลายอย่าง สวยงามซึ่งเป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมุขด้านหน้าตัว อาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว)คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง เท่านั้น

ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช ้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2501และได้รับพระราชทาน รางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันและสาธารณะ ซึ่งภายในก็จะมีแท่นบรรทมของพระองค์รวมอยู่ด้านใน

 

ภายในอาคารแบ่งเป็นห้องต่างๆหลายๆส่วน ภายในยังคงมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตของเจ้าหลวงที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พื้นอาคารชั้น1 จะสังเกตเห็นว่ามีช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กหลายๆช่องที่สามารถ

ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับคุมขัง ข้าทาส บริวาร ซึ่งกระทำความผิด จำนวน 3 ห้อง ห้องกลาง เป็นห้องทึบ แสงสว่างสาดส่องเข้าไปไม่ได้เลย ใช้เป็นที่คุมขังข้าทาสบริวารที่กระทำความผิดร้ายแรง ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องแสง ให้แสงสว่างเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดชั้นลหุโทษ เป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศเลิกทาส คุกทาสจึงกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าหลวงหรือข้าหลวง ในสมัยต่อ ๆ มา ต่อมามีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้นใหม่ คุกแห่งนี้จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนาน  สำหรับการเข้าชมในคุกใต้ดิน นั้น เขามีเคล็ดอยู่ว่า อย่าเดินหน้าหันหน้าเข้าคุกแต่ให้เดินถอยหลังเข้าคุกแทน ส่วนตอนออกก็เดินหน้าออกมาอย่าหันหลังไปมองคุก เพราะอาจจะทำให้ต้องโทษเข้าคุกในอนาคตได้  คุ้มเจ้าหลวงถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์แห่งเรือนเก่าในเมืองแพร่ ที่ไม่ควรพลาดแวะมา เที่ยวชมสถาปัยกรรมเก่าแก่แห่งนี้
เปิดปิดได้ ช่องนั้นทำไว้สำหรับสอดส่องและหย่อนอาหารให้นักโทษ

คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้มีความแปลกกว่าอาคารอื่นคือ มีใต้ถุนอาคารเป็นคุกที่ใช้คุมขังทาส ซึ่งใช้มายาวนานกว่า 50 ปี โดยภายในแบ่งเป็น 3 ห้อง ใช้ขังทาสตามความผิดของแต่ละขั้น หากทำผิดขั้นร้ายแรงจะถูกขังในห้องมืดที่แสงไฟไม่สามารถลอดเข้าไปได้ และนักโทษจะได้รับบทลงโทษที่แสนทรมาน คำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับวิญญาณบรรดาผีทาสที่เสียชีวิตอย่างโหดเหี้ยมจึงกลายเป็นวิญญาณพยาบาท เคยมีคนเจอโครงกระดูก สภาพศพแขนขาหัก เจออุปกรณ์ที่ใช้ในการทรมานทั้งหลายอยู่ใต้คุ้มเจ้าหลวง จนกลายเป็นภาพหลอน บรรยากาศที่ดูวังเวงแสนหดหู่นั้นกลายเป็นเรื่องราวลี้ลับและอาถรรพ์เต็มไปด้วยตำนานที่น่าสะพรึงกลัว

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศเลิกทาส

จากคุกขังทาสก็กลายเป็นคุกที่ใช้ขังนักโทษ มาจนถึงยุคสมัยที่มีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้น คุกทาส

ที่เป็นดั่งนรกบนดินที่ใช้งานมายาวนานจึงเหลือไว้เพียงตำนาน

ปี พ.ศ. 2540 คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันและสาธารณะ ปัจจุบันคุ้มเจ้าหลวงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองแพร่

ปัจจุบัน คุ้มเจ้าหลวง เปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความ เป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา  08.30 – 17.00 น.

การเดินทางไปคุ้มเจ้าหลวงจากทางหลวงหมายเลข 101 เข้าตัวเมืองแพร่ (ถนนยันตรกิจโกศล) ตรงขึ้นไปแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญเมืองไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร จนถึงวงเวียนให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคุ้มเดิมอีกประมาณ 100 เมตร ทางด้านขวามือจะถึงคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ซึ่งตั้งอยู่ตรง ข้ามโรงเรียนนารีรัตน์ หรือหากใช้ทางหลวงหมายเลข 1023 จากลำปางเข้ามาทางอำเภอลอง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเหมืองหิต ไปประมาณ 700 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนคุ้มเดิม ตรงขึ้นไปประมาณ 700 เมตร ทางด้านซ้ายมือก็จะถึงคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ได้เช่นกัน

ที่พัก
1.โรงแรม เฮือนฮิมกอง ห่างจากคุ้มเจ้าหลวงเพียง 100ม.


โรงแรมยังใหม่ พักห้อง standard ตกแต่งเรีบยง่ายดูทรงคุณค่าด้วยไม้สัก ทีสำคัญคือห้องพักสะอาด ไม่มีกลิ่นอับเลย พอใจมากกับห้องน้ำ ไม่มีกลิ่น ชักโครกใหญ่นั่งสบาย(ผมตัวใหญ่) ปริมาณน้ำจากฝักบัวที่เหมาะสม บรรยากาศโรงแรมเงียบสงบตั้งอยู่ในบริเวณเขตกำแพงเมืองซึ่งเป็นชุมชุนเก่าแก่ของเมืองแพร่ และแวดล้อมด้วยสถานที่สำคัญ เช่น คุ้มเจ้าหลวงและมีวัดสำคัญๆ อยู่ใกล้เคียงในรัศมีไม่เกิน 200 เมตร ถึง 4 วัด รวมถึงวัดหลวงที่เชื่อว่ามีอายุนับพันปี จะเดินหรือขี่รถจักรยานของโรงแรมเที่ยวชมก็จะได้บรรยากาศดี
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

16/1 ซอย ชุมชนวัดหลวง ตำบล ทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ แพร่ 54000

054 533 777

2.Hug Inn Phrae Hotel ห่างจากคุ้มเจ้าหลวง590ม.

Hug Inn Phrae Hotel

ที่พักสะอาด ค่อนข้างใหม่ สไตล์มินิมอลเล็กๆผสมกับความเป็นแพร่อย่างลงตัว น่ารักมาก มีที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลาดสด ประตูชัย อยู่ใกล้ที่พัก แต่ห้องไม่ค่อยเก็บเสียง เครื่องปรับเสียงดังตลอดคืน แต่บริการประทับใจ ปล.มีน้องปลาทองน่ารักหลายสายพันธ์คอยตอบรับด้วยย
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

6 1Tesaban Rd 2, ตำบล ทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ แพร่ 54000

062 572 0077

3.Huern Kan Thong Hotel (โรงแรมเฮือนขันทอง) ห่างจากคุ้มเข้าหลวง960 ม.

Huern Kan Thong Hotel

เป็นโรงแรมที่ดีอีกโรงแรมนึง เพราะว่ามาพักในช่วงโปรโมชั่นช่วงโควิด ทำให้ราคาลดลงให้พนักงานที่เดินทางมาทำงานต่างจังหวัดได้พักได้
ภายในห้องพักถือว่าสวยงามมีความผสมผสานระหว่างยุโรปกับเอเชีย มีอ่างแช่น้ำ แยกโซนอาบน้ำ สุขา และระหว่างห้องมีประตูบานใหญ่กั้นอีกที่เตียงมีขนาดใหญ่น่า 6 ฟุต นุ่มมาก หมอนเยอะมากๆนอนหลับสบาย อยู่ใกล้รีเซปชั่น ห้องเก็บเสียงไม่มีเสียงภายนอกรบกวน
มีทีวี ตู้เย็นซ่อนในตู้ อ่างล้างมือ อยู่หน้ากระจก ปลั๊กเยอะดี ไฟสว่างครับ
แนะนำ

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

346 / 2 ซ. เจริญเมือง ตำบล ในเวียง อำเภอเมืองแพร่ แพร่ 54000

088 298 1209