ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์

สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบุรีรัมย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่เคารพสักการะและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง สร้างด้วยศิลปะกรรมที่สวยงาม ในรูปแบบศิลปะขอมโบราณที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง เพื่อเป็นการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของคนชาวบุรีรัมย์ได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามไว้ในคนรุ่นหลังได้สืบทอดกันต่อไป

มีความเชื่อว่า ณ บริเวณนี้เคยเป็นจุดพักรบของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 และยังเป็นจุดกำเนิดเมืองบุรีรัมย์อีกด้วย ที่นี่จึงถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญของชาวบุรีรัมย์ เดิมเป็นเพียงศาลที่มีขนาดเล็กๆ ในปี พ.ศ.2548 จึงได้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นมาใหม่ และได้อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์ และพระทรงเมืองเพื่อมาปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ให้บ้านเมือง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ความแปลกประการหนึ่งคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์ที่ปรากฏ มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์และได้สร้างใกล้ชิดติดกัน ด้านข้างศาลหลักเมืองยังมีศาลเจ้าจีน ประดิษฐานรูปเหมือนเจ้าพ่อหลักเมือง ด้านซ้ายมีเทพเจ้าไฉ่ซิงเอียะ ด้านขวามีเทพเจ้ากวนอู เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มากราบไหว้ในบริเวณเดียวกัน

ลักษณะของศาลหลักเมืองจะเป็น เหมือนองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกรีบขนุน และ เทพประจำทิศเพื่อปกป้องรักษาทิศต่างๆ องค์เรืองธาตุเป็นที่ ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้าน อันเป็นความหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัวเป็นสเตนกลาสประดับทองเพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมือง ตรงกลางองค์ปรางค์ พร้อมกับอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์และพระทรงเมืองเพื่อมาปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ให้บ้านเมือง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ความแปลกประการหนึ่งคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์และสร้างใกล้ชิดติดกัน ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์  เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปสักการะกันได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ภายในอนุญาติให้ถ่ายภาพได้

ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งชาวบุรีรัมย์นับถือศรัทธาและมีมากราบไหว้ในโอกาสต่างๆ ตลอดปี เดิมเป็นศาลขนาดเล็ก จึงได้รื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อ ปี 2548 -2550 ให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์อย่างชัดเจน ความแปลกประการหนึ่งคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์ที่ปรากฏ มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ และสร้างใกล้ชิดติดกันลักษณะของศาลหลักเมืองจะเป็นองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกลีบขนุนและเทพประจำทิศ เพื่อปกป้องรักษาทิศต่าง ๆ องค์เรืองธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้าน อันเป็นความหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัวเป็นสเตนกลาสประดับทอง เพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมืองตรงกลางองค์ปรางค์ พร้อมกับอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์ และพระทรงเมือง เพื่อมาปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ให้บ้านเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ เป็นศาลหลักเมืองที่มีความสวยงามอลังกาลเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบุรีรัมย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบุรีรัมย์ และ จังหวัดใกล้เคียงแต่เดิมเป็นเพียงศาลที่มีขนาดเล็กๆ แต่พอเริ่มชำรุดทรุดโทรม ทางกลุ่มข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวบุรีรัมย์ จึงเห็นควรให้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. 2548 โดยให้ทางกรมศิลปากร ช่วยทำการออกแบบในรูปแบบศิลปะขอมโบราณเพื่อเป็นการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของคนชาวบุรีรัมย์ได้อย่างชัดเจน และ ที่สำคัญเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามไว้ในคนรุ่นหลังได้สืบทอดกันต่อไป นักท่องเที่ยวบางท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่าศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นปราสาทหินอะไรซักอย่าง เพราะด้วยรูปร่างลักษณะที่ดูใหญ่โต สวยงาม และ อลังกาล ลักษณะของศาลหลักเมืองจะเป็นเหมือนองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกรีบขนุน และ เทพประจำทิศเพื่อปกป้องรักษาทิศต่างๆ องค์เรืองธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้าน อันเป็นความหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัวเป็นสเตนกลาสประดับทองเพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมืองตรงกลางองค์ปรางค์ พร้อมกับอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์ และ พระทรงเมือง เพื่อมาปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ให้บ้านเมือง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ด้านข้างศาลหลักเมืองยังมีศาลเจ้าจีน เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มากราบไหว้ในบริเวณเดียวกัน บริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้ เคยเป็นจุดเจ้าพระยาจักรี คือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบ และ เห็นว่าบริเวณนี้เป็นทำเลที่เหมาะสม มีสระน้ำ มีต้นแปะขนาดใหญ่ เลยโปรดเกล้าให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่าเมืองแปะ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่ถนนจิระ เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปสักการะกันได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ภายในอนุญาติให้ถ่ายภาพได้
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดีและที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฏว่า ได้มีการแต่งตั้งพระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า”บริเวณนางรอง” ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น “เมืองนางรอง”มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “บุรีรัมย์” และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา

ที่พัก
1.The New Residence
ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ • อยู่ห่างออกไป 270 เมตร

ห้องกว้างมาก อยู่ใกล้ตลาดแต่เงียบมากครับ ราคาประหยัด400บาท

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

13 Isan Rd NaiMuang, อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บุรีรัมย์ 31000

092 846 8999

2.โรงแรมเลค วิวเพลส
ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ • อยู่ห่างออกไป 640 เมตร

โรงแรมที่พัก เมืองบุรีรัมย์ สะอาด ราคาไม่แพง

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บุรีรัมย์ 31000

3.B2 Buriram Hotel / บีทู บุรีรัมย์
ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ • อยู่ห่างออกไป 610 เมตร

บรรยากาศดี..ติดริมคลอง..ลมพัดเย็นสบายถ้าต้องการธรรมชาติ

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

33/5 ถนน อนุวรรตน์ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บุรีรัมย์ 31000

044 110 866