สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน จังหวัดบึงกาฬ

หลวงพ่อพระใหญ่อันประดิษฐาน ณ ที่วัดโพธารามแห่งนี้ นับเป็นหลวงพ่อคู่บ้านคู่เมืองของชาวบึงกาฬมาแต่ช้านาน หลวงพ่อพระใหญ่ วัดโพธารามตั้งอยู่ที่วัดโพธาราม บ้านท่าใคร้ ต.บึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยโบกฉาบด้วยปูน สูงประมาณ 2 เมตรหน้าตักกว้าง 2 เมตรจากพระฌานุ(เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 นี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบึงกาฬที่ตั้งโบราณ ชาวบึงกาฬจัดงานสมโภชช่วงวันเพ็ญเดือน 3 และช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตามตำนานและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลัง ๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมากได้อพยพครอบครัวมาจากเมืองยศ ซึ่งในปัจจุบันก็คือจังหวัดยโสธร มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขงและร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี หรืออำเภอบึงกาฬในปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกันทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และมีการระบาดของโรคร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด ถูกรบกวนจากสัตว์ร้ายหรือภูตผีปีศาจต่าง ๆ ก็พากันหลบหนีภัยย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ เพื่อหาที่เหมาะสมต่อไป ชนกลุ่มนี้ก็เหมือนกันย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ เพื่อหาที่เหมาะสม จนถึงบ้านท่าใคร้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นเป็นที่เหมาะสมดีก็ตกลงใจกันตั้งหลักฐานที่จะหากินในบริเวณนี้จากนั้นต่างก็จับจองพื้นที่หากินแล้วเริ่มขยายอาณาบริเวณไปเรื่อย ๆ จนถึงบริเวณที่รกทึบที่สุดเป็นป่าดงดิบ มีไม้นานาพันธุ์ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้ไผ่ป่า ขี้นอยู่อย่างหนาแน่นและเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นป่ารกทึบมากชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่รอบ ๆ จึงได้ร่วมกันในการถากถางเพื่อจะได้มีพื้นที่มากขึ้น หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวันก็พบพุ่มไม้ที่สูงและหนากว่าที่อื่น ๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออกก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันรอบองค์อยู่ จึงได้นำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบ ๆ ก็พบว่าพระเกตุมาลาของหลวงพ่อหักเพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อหากินตามธรรมชาติของสัตว์ป่า และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่บำเพ็ญบุญ หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่างองค์พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่ได้พบมาถึงปัจจุบัน ไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือ ต่อเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม มีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้นที่สร้างโอบแท่นเดิม เพื่อให้มีความมั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม และมีผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อเมื่อได้สมความปรารถนาแล้วก็ได้นำสีทองมาทาสมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็นสีทองทั้งองค์

 

วัดโพธาราม ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองบึงกาฬประมาณ  5 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดบึงกาฬและชาวจังหวัดใกล้เคียงรวมไปถึงในสปป.ลาว ที่อยู่ในลุ่มน้ำโขงแถบนี้  เมื่อเข้ามายังตัววัดจะพบกับอุโบสถเมื่อมองเข้าไปด้านในก็จะเห็นหลวงพ่อพระใหญ่ประดิษฐานอยู่ด้านในตัวอุโบสถ  หลวงพ่อพระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปรางมารวิชัย ฉาบปูน หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ (5 ฟตุ 4 นิ้ว) เดิมเป็นพระพุทธรูปทองสำริดที่มีความงดงาม แต่ต่อมามีการพอกปูนฉาบไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการอำพรางจากเหตุการณ์สงคราม โดยพระพุทธรูปที่เห็นในปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ที่เดิมนับตั้งแต่ค้นพบไม่ทำการเคลื่อนย้ายแต่อย่างใด มีเพียงการบูรณะแท่นประดิษฐานให้คงทนแข็งแรงมากขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่ที่มาขอพร ก็มักจะได้สมหวังดังใจหมาย จนมีคนนำสีทองมาทาองค์พระให้สวยงามอย่างที่เห็นกัน และมักจุดบั้งไฟถวายกันเป็นประจำ แต่การกราบไหว้ในพระอุโบสถ สามารถเข้าได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ส่วนสุภาพสตรีจะสามารถกราบไหว้ได้ที่ด้านหน้าของพระอุโบสถ หรือองค์จำลองที่ประดิษฐานอยู่ข้างพระอุโบสถ วัดโพธารามแห่งนี้มีบรรยากาศที่ร่มรื่น มีหลักธรรมคำสอนติดตามต้นไม้ไว้ให้อ่านเป็นข้อคิดเตือนใจ และพื้นที่วัดก็อยู่ติดริมแม่น้ำโขงไม่มีกำแพงวัดกั้นระหว่างวัดและแม่น้ำโขง จึงทำให้ผู้คนที่มาวัดได้เดินเที่ยวชมและยังได้รับลมเย็นๆที่พัดขึ้นมาจากฝั่งโขงยิ่งทำให้จิตใจสงบร่มเย็น

เมื่อเข้ามายังตัววัดจะพบกับอุโบสถเมื่อมองเข้าไปด้านในก็จะเห็นหลวงพ่อพระใหญ่ประดิษฐานอยู่ด้านในตัวอุโบสถ  หลวงพ่อพระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปรางมารวิชัย ฉาบปูน หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ (5 ฟตุ 4 นิ้ว) เดิมเป็นพระพุทธรูปทองสำริดที่มีความงดงาม แต่ต่อมามีการพอกปูนฉาบไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการอำพรางจากเหตุการณ์สงคราม โดยพระพุทธรูปที่เห็นในปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ที่เดิมนับตั้งแต่ค้นพบไม่ทำการเคลื่อนย้ายแต่อย่างใด มีเพียงการบูรณะแท่นประดิษฐานให้คงทนแข็งแรงมากขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่ที่มาขอพร ก็มักจะได้สมหวังดังใจหมาย จนมีคนนำสีทองมาทาองค์พระให้สวยงามอย่างที่เห็นกัน และมักจุดบั้งไฟถวายกันเป็นประจำ แต่การกราบไหว้ในพระอุโบสถ สามารถเข้าได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ส่วนสุภาพสตรีจะสามารถกราบไหว้ได้ที่ด้านหน้าของพระอุโบสถ หรือองค์จำลองที่ประดิษฐานอยู่ข้างพระอุโบสถ วัดโพธารามแห่งนี้มีบรรยากาศที่ร่มรื่น มีหลักธรรมคำสอนติดตามต้นไม้ไว้ให้อ่านเป็นข้อคิดเตือนใจ และพื้นที่วัดก็อยู่ติดริมแม่น้ำโขงไม่มีกำแพงวัดกั้นระหว่างวัดและแม่น้ำโขง จึงทำให้ผู้คนที่มาวัดได้เดินเที่ยวชมและยังได้รับลมเย็นๆที่พัดขึ้นมาจากฝั่งโขงยิ่งทำให้จิตใจสงบร่มเย็น

 

ประวัติ

วัดโพธาราม ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ ห่างจากอำเภอเมืองบึงกาฬ 5 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่วๆ ประดิษฐานบนแท่นสี่เหลี่ยมซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2537

เดิมหลวงพ่อพระใหญ่เป็นพระพุทธรูปทองสำริดที่มีความงดงาม ต่อมามีการพอกปูนฉาบไว้ สันนิษฐานว่าเป็นการอำพรางจากตอนสงคราม ว่ากันว่าผู้คนส่วนใหญ่ที่มาขอพรมักจะสมปรารถนา ทั้งนี้การเข้าไปกราบไหว้พระในอุโบสถสามารถเข้าได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ส่วนผู้หญิงกราบได้เพียงด้านนอก ชาวบึงกาฬได้จัดให้มีการสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ปีละ 2 คร้ัง คือ ช่วงประเพณีบุญเดือน 3 หรือบุญข้าวจี่ที่มีการถวายปราสาทผึ้งด้วย และประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ที่จัดขึ้นสัปดาห์หลังเทศกาลสงกรานต์

ตามตำนานและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่นที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ท่าไคร้ส่วนมากได้อพยพครอบครัวมาจากเมืองยศซึ่งก็คือจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขงและร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรีหรืออำเภอบึงกาฬในปัจจุบัน จนถึงบ้านท่าไคร้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวันก็พบพุ่มไม้ที่สูงและหนากว่าที่อื่นๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออกก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันรอบองค์อยู่ จึงได้นำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบๆ จึงพบว่าพระเกตุมาลาของหลวงพ่อหักเพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อหาอาหารกิน และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่าง ตั้งแต่พบองค์พระพุทธรูปจนถึงปัจจุบันไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือต่อเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม และมีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้นที่สร้างโอบแท่นเดิมไว้เพื่อให้มั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม และเมื่อผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อสมความปรารถนา ก็ได้นำสีทองมาทาสมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็นสีทองทั้งองค์ นอกจากหลวงพ่อพระใหญ่แล้วภายในบริเวณวัดยังมีเรือกำปั่นโบราณจัดแสดงอยู่ด้วย

ที่พัก
1.M Grand Hotel

 

สะอาดน่าอยู่ แอร์เย็นสบาย เงียบสงบ สะดวกสบายใกล้เมืองด้วย

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

159 Moo 10, Non Sombun Bung Kan อำเภอเมืองบึงกาฬ 38000

095 146 5363

2.โรงแรม ดาธชาลอฟท์วิว

 

ห้องพักสะอาด บรรยากาศภายในห้องดีมากค่ะ อาหารอร่อย

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

7 ม.18 บ.พัฒนาภิบาล อำเภอ เซกา บึงกาฬ 38150

061 245 2888

3.Century Grand Hotel

 

โรงแรมที่ดีพร้อมพนักงานที่น่ารัก

ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

180, ตำบล บึงกาฬ Muang, บึงกาฬ 38000