พระพุทธมงคล พระพุทธมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคล ตั้งอยู่ที่ ม. 1 ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
พระพุทธรูปทั้งสององค์ และพระพิมพ์กันทรวิชัย เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัย และชาวจังหวัดมหาสารคามทุกคน ไม่ว่าท่านจะกราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว ก็จะได้สมใจนึกทุกประการ
ตำนานเรื่องเล่าของพระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง (ย่อ)
พระพุทธรูปยืนวัดสุวรรณาวาสอำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและได้แย่งราชสมบัติจากบิดาโดยจับขังและให้อด อาหารจนสิ้นชีวิตและสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมื่อได้ครองเมืองแล้วเกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนกระวาย โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูปยืน ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระบิดาปัจจุบันอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัยและอีกองค์หนึ่งอยู่นอกเมืองเพื่อระลึกถึงพระมารดา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ปัจจุบันอยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพระเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวเมืองได้นำไปฝังที่ป่านอกเมืองและสร้างพระ นอนเหนือหลุมฝังศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่าผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้ายเนื่องจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้อีกเลย.. (ประวัติ พระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง หรือ หลวงพ่อพระยืน)
เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมืองและผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดม สมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมืองและผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดม สมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก
อยู่ที่บ้านสระ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคล พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปหินทราย ศิลปทวาราวดี สูงประมาณ ๔ เมตร เดิมอยู่ในสภาพชำรุด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้ทำการต่อเติมให้สมบูรณ์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ เมื่อ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ปัจจุบันพระพุทธมงคลได้ประดิษฐานอยู่ที่ลานโพธิของวัด รอบลานโพธิมีใบเสมาหินสมัยทวาราวดีปักล้อมอยู่สองชั้นทั้งแปดทิศ ลักษณะใบเสมาเป็นแผ่นเรียบแบน และแบบแท่งเหลี่ยม
การเดินทางโดยรถยนต์ :
ไปตามเส้นทางมหาสารคาม-อำเภอกันทรวิชัย–กาฬสินธุ์ วัดพุทธมงคล และพระพุทธรูปยืนมงคล จะอยู่ขวามือถ้าเรามุ่งหน้าไปกาฬสินธุ์ จะอยู่ก่อนถึงอำเภอกันทรวิชัย
และเมื่อเดินทางโดยใช้เส้นทางเดิม เข้าอำเภอกันทรวิชัย พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี และวัดสุวรรณาวาส จะอยู่ซ้ายมือ ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัย
ที่พัก
1.Coconut Palms Pool and Bungalows
วัดสุวรรณาวาส • อยู่ห่างออกไป 210 เมตร
สถานที่สะอาด ตกแต่งสวยตามสมัย เตียงนอนคุณภาพสูงนุ่มมาก มีสระว่ายน้ำ บรรยากาศดี
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
243, ตำบล โคกพระ อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม 44150
043 789 258
2. อุ่นไอรัก รีสอร์ท
วัดสุวรรณาวาส • อยู่ห่างออกไป 7.6 กม
บรรยากาศดีมากเลยค่ะ บริการก็น่ารักเป็นกันเองมากค่ะ
ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 130 ม.5 โคกพระ กันทรวิชัย มหาสารคาม 44150