สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดลำพูน วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะพาเที่ยวจังหวัดลำพูนกันนะครับ ส่วนผมจะพาไปที่ไหนของจังหวัดลำพูน ติดตามกันได้เลยครับ
พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว
ประวัติ : พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว หรือ พิพิธภัณฑ์บ้านชาวยอง ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณเจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว เมื่อปีพ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการเก็บสะสมของโบราณ ที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ของชาวยองในอดีต จนภายหลังเริ่มมีผู้มีจิตศรัทธา นำสิ่งของเก่ามาบริจาคมากขึ้น จึงได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคารที่ใช้จัดแสดง 2 หลัง อาคารหลังแรกสร้างขึ้นใหม่ และเก็บรวบรวมเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและสิ่งของต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปไม้ พระพุทธรูปเนื้อดินเผา หีบพระธรรม เครื่องเงิน ขันโตก เครื่องจักสาน และวัตถุสิ่งของที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งเป็นข้าวของที่ใช้กันในชีวิตประจำวันของชาวเมืองยองตั้งแต่ครั้งอดีต ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารไม้หลังเก่า จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องพัดยศ และพระเครื่องรุ่นเก่า พระเครื่องสกุลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมาย เช่น พระรอดพระคง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม พระสิบสอง พระลบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสืบชะตาอีกด้วย นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งของคนยอง ที่อยากจะรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา และสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามต่าง ๆต่อไป
วัดต้นแก้ว สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๕ ตามประวัติวัดแจ้งว่า สร้างประมาณพุทธศักราช ๒๓๔๙ โดยสันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่สร้างสมัยพระนางเจ้าจามเทวี เริ่มสร้างเมืองลำพูน ที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้วเป็นวัดใหญ่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาลเวลา พระอธิการกัณฑ์ จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่ โดยมีแม่เฟย พร้อมดัวยผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐
การบริหารและการปกครองอยู่ในอำนาจของเจ้าอาวาส มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมามีทั้งหมด ๑๐ รูป คือ รูปที่ ๑ พระอธิการกัณฑ์ รูปที่ ๒ พระอธิการอินจัย รูปที่ ๓ พระอธิการอิ่นคำ รูปที่ ๔ พระอธิการทองสุข รูปที่ ๕ พระมหาสม ใหญ่พงษ์ รูปที่ ๖ พระอธิการคำ เขื่อนเรือง รูปที่ ๗ พระอธิการทองดี สิงคลิง รูปที่ ๘ พระอธิการบุญชุม บวรธมโม รูปที่ ๙ พระอธิการผจญ อคฺคธมโม รูปที่ ๑๐ พระครูไพศาลธีลคุณ จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังได้สร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน สร้างศูนย์การเรียนชุมชน ( กศน. ) สร้างกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุ สร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและศูนย์บูราณาการวัฒนธรรมสายใยชุมชนในวัด เนื่องจากว้าวัดต้นแก้วหรือวัดดอนแก้วในอดีต ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นวัดที่เก่าแก่เกี่ยวกับพระนางเจ้าจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครลำพูน ความเป็นมาของวัดในอดีตประมาณ ๑,๓๐๐ ปี มาแล้ว
ท่านฤาษีวาสุเทพและท่านฤาษีสุกกทันตะ ได้พร้อมกันสร้างนครหริภุณชัยขึ้นและได้เทิดทูลเชิญเสด็จพระนางเจ้าจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ขึ้นมาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองลำพูน พระนางเจ้าจามเทวีได้สร้างวัดขึ้นอยู่สี่มุมเมือง คือวัด ๑.ดอนแก้วหรือวัดต้นแก้วในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ๒.วัดอาพัทธาราม หรือวัดพระคงฤาษีในปัจจุบัน อยู่ทางทิศเหนือ ๓.วัดมหาลัดดาราม หรือวัดสังฆารามประตูลี้ ในปัจจุบัน อยู่ทางทิศใต้ ๔.วัดมหาวนาราม หรือวัดมหาวัน ในปัจจุบัน อยู่ทางทิศตะวันตก พร้อมได้บรรจุพระเครื่องสกุลลำพูนไว้มากมาย เช่น รรอด พระบาง พระลือ พระเลี่ยง พระสิบสอง พระลบ เป็นต้น นำไปฝังไว้ตามวัดต่างๆทั้ง ๔ ทิศ
วัดต้นแก้ว สันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 1825 เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่ง นครลำพูน เริ่มสร้างเมืองลำพูน เหตุที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้ว เป็นวัดใหญ่ที่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาลเวลา จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่ โดยมีแม่เฟย พร้อมผู้มีศรัทธาช่วนกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1830
ภายในบริเวณวัดมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยองบนกฎิเก่า ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้วเมื่อปี พ.ศ.2530 โดยเริ่มต้นเก็บสะสมของโบราณที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตของชาวยองในอดีต ภาพโบราณ เมืองลำพูน พระเครื่อง รวมไปถึงผ้าทอโบราณ การทำไร่ ทำนา ได้แก่ คุดีข้าว ล้อเกวียน เมื่อมีสิ่งของมากขึ้นก็จัดแสดงเป็น พิพิธภัณฑ์เล็กๆ ภายในวัด หลังจากนั้นก็เริ่มมีผู้มีจิตศรัทธา นำสิ่งของเก่าๆมาบริจาคมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้ว
พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว หรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง ประกอบด้วยอาคารที่ใช้จัดแสดง 2 หลัง ๆ แรกเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ใช้เก็บของที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปไม้ พระพุทธรูปเนื้อดินเผา หีบพระธรรม เครื่องเขิน ขันโตก เครื่องจักสาน กล้องยาสูบ ภาพถ่ายเก่า ๆ มีดดาบ และวัตถุสิ่งของที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งเป็นข้าวของเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวยอง ในชุมชนแห่งนี้มาแต่ครั้งอดีต อาคารหลังที่สอง เป็นอาคารไม้หลังเก่าอยู่ทางด้านหลัง จัดแสดงเครื่องพัดยศ และพระเครื่องรุ่นต่างๆ อีกมากมาย และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสืบชะตาอีกด้วย จุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การเก็บรวมรวมพระเครื่องสกุลต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมาย เช่น พระรอด พระคง พระบาง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม พระสิบสอง พระลบ เป็นต้น
นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแล้ว วัดต้นแก้วยังเป็นทั้งศูนย์เรียนรู้การทอผ้ายกดอก จังหวัดลำพูน เป็นที่ทำการของกลุ่มทอผ้า ผู้สูงอายุ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ปัจจุบัน วัดต้นแก้วเป็นพื้นที่ให้คนต่างกลุ่ม ต่างอายุได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน โดยวัดได้จัดให้มีโครงการหมู่บ้าน “ยอง” เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของตน นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะรักษาเอกลักษณ์ของคนยองเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของคนยอง
นักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมานมัสการองค์พระบรมธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำเมืองลำพูนแล้ว ลองแวะเดินข้ามสะพานท่าสิงห์บริเวณหน้าวัดพระธาตุไปชมวิถีชีวิตของชุมชนไตลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง ที่บ้านเวียงยองสักครั้ง เพราะชุมชนแห่งนี้ยังคงดำรงวิถีแห่งชีวิตของผู้คนชาวยองที่สืบทอดต่อมาเมื่อราวร้อยกว่าปีเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
ชุมชนบ้านเวียงยอง เป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวไตลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองในยุคต้นของล้านนา เมื่อครั้งที่พระเจ้ากาวิละทรงยกทัพขึ้นไปตีหัวเมืองต่างๆ ในเขตภาคเหนือ อันได้แก่ เมืองยอง เมืองวะ เมืองลวง เมืองสาด เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงแสนจนถึงดินแดนสิบสองปันนา แล้วอพยพผู้คนเหล่านี้ให้เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเชียงใหม่ ลำพูนเรื่อยไปถึงลำปาง ทว่าชุมชนที่โดดเด่นในเรื่องการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตผู้คนที่ยังคงพบเห็นสืบต่อกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นชุมชนบ้านเวียงยอง
นอกจากวิถีแห่งการดำรงชีวิตอันเรียบง่าย สงบงามแล้ว ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของผู้คนที่นี่ก็มีความสำคัญไม่น้อย ยิ่งโดยเฉพาะในท่ามกลางสังคมเมืองที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านเวียงยองยังคงอนุรักษ์รักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของชาวเมืองยองเอาไว้ เห็นได้จากเมืองเข้าไปในวัดต้นแก้ว จะมีกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองของผู้สูงอายุ ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยคนทอผ้าเป็นช่างทออยู่เคยทอผ้าอยู่คุ้มเจ้าหลวงลำพูน นอกจากนั้นผู้สูงอายุบางคนยังเคยทำงานอยู่ในโรงทอผ้าของ แม่คำแว่น ไชยถวิล ซึ่งเป็นโรงทอผ้าเก่าแก่ที่สุดของเมืองลำพูน
ปัจจุบันทางกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุวัดต้นแก้วได้มีการทอผ้ายกเชิง ผ้าไหมแกมฝ้ายลายดอกพิกุล หรือดอกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อวัดคือ “วัดต้นแก้ว” ซึ่งถือเป็นลายผ้าเก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำพูน
นอกจากนั้นในบริเวณวัดยังมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้วเมื่อปี พ.ศ.2530 พระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสเล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นเก็บสะสมของโบราณมาเมื่อราว 20 กว่าปีที่แล้ว โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการได้เห็นวิถีชีวิตของชาวยองในอดีตในการทำไร่ ทำนา จึงได้เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ คุตีข้าว ล้อเกวียน เมื่อมีสิ่งของมากขึ้นก็จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ภายในวัด พอญาติโยมเดินทางมาทำบุญที่วัดเห็นเข้าบางคนก็นำสิ่งของเก่าๆ มาบริจาคมากขึ้นเรื่อยๆ
พอมีของมากขึ้นก็ได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้วขึ้น โดยเอาอาคารกุฏิเก่าทำเป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมของเก่าโบราณหายาก ทั้งภาพโบราณเมืองลำพูน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน พระเครื่อง พัดยศ รวมไปถึงผ้าทอโบราณ จนกระทั่งปี พ.ศ.2545 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยองขึ้นในบริเวณวัดต้นแก้ว เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ จึงได้ย้ายข้าวของเครื่องใช้มาไว้ในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเก็บรวบรวมของโบราณหาชมยากกว่า 1,000 ชิ้น เช่น หีบพระธรรม พระเครื่องเก่าแก่ของลำพูน ถ้วยชาม วิทยุโทรทัศน์เก่า ภาพโบราณ เอกสารหนังสือเก่า รวมถึงผ้าทอโบราณของชาวเวียงยอง ที่ขึ้นชื่อได้แก่ ผ้าซิ่นอายุ 106 ปี ของเจ้าแม่ฟองคำ ณ ลำพูน และผ้าซิ่นของแม่บัวเขียว
ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมสมณศักดิ์พัดยศของเจ้าอาวาสต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีพัดยศของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงลำพูน ที่ท่านนำมาถวายกฐินครั้งแรกของวัดต้นแก้วในโอกาสทำบุญอายุของเจ้าจักรคำฯ ครบ 60 ปี เมื่อพ.ศ.2478
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้ว จึงถือเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของชุมชนชาวไตลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งหากเทียบเคียงก็คงคล้ายๆ กับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชุมชนวัดเกต จ.เชียงใหม่ ที่คนรุ่นหลังจะได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของอดีตกาลแห่งชาติพันธุ์ไตลื้อที่นับว่ามีคุณค่าที่สุด
สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยองวัดต้นแก้ว สามารถติดต่อโดยตรงที่พระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว รองเจ้าคณะตำบลเวียงยอง 081-706-2612, 053-512007
ที่พัก
1.คุ้มจอมแก้ว
ที่พักราคาไม่แพง ดูแลแบบเหมือนอยู่บ้าน พี่ป้า น้าอา ไม่มีอาหารเช้า แต่มีขนมปังและชา กาแฟ พร้อมกล้วย บริการ ที่พักไม่ใหม่ แต่ทำเลดี อยู่หลังศาลากลางลำพูน เงียบ สงบ ไม่พลุกพล่าน ปลอดภัย ใกล้วัดพระธาตุหริภุญชัย เดินไปยังได้ ใกล้ตลาดเช้า ตลาดโต้รุ่ง อนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี ที่จอดรถก็มี พี่เจ้าของอัธยาศัยดี ใครชอบคุยเรื่องประวัติศาสตร์ล้านนา ลำพูน ลองคุยกับพี่เขาดูครับ รู้ลึก รู้จริง แนะนำแหล่งท่องเที่ยวได้แบบละเอียด เพราะพี่เขาเป็นคนที่นี่
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
4 แว่นคำ ถนน แว่นคำ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ลำพูน 51000
053 560 702
2.โรงแรมพญาอิน
สถานที่ตั้ง เข้าซอยมาลึกพอสมควร แต่บรรยากาศเงียบสงบ ใกล้ กู่ช้างกู่ม้า วัดพระยืน ห้องพักสะอาด ราคาห้องพักไม่รวมอาหารเข้า แต่หากต้องการสามารถแจ้งพนักงาน ได้ ราคา คนละ 50 บาท (ต้องแจ้งตอนเข้าพักเลย) ห้องพักสะอาด มีแอร์ ฟักบัวร้อนเย็น เยื้องกับที่พักมี พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม ถ้าหากผู้เข้าพักต้องการตักบาตรเข้า พระท่านจะผ่านหน้าโรงแรมในวันคี่ เท่านั่น
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
35/1 ถ.จิตตวงศ์พันธ์รังสรร ในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ลำพูน 51000
053 511 777
3.โรงแรมลำพูนวิลล์
โรงแรมขนาด5ชั้น ตั้งอยู่ริมถนนหน้าโรงพยาบาลลำพูน ราคาห้องพักประมาณ 950 บาท (ห้องเตียงคู่) แต่หากเป็นห้องเตียงเดี่ยวจะเป็นราคา 1,200 บาท ใกล้ๆจะมีเซเว่นอีเลฟเว่น, โลตัส, Big C Market สะดวกมาก โรงแรมอยู่ตรงข้ามวัดจามเทวี ข้างล่างเป็นลานจอดรถ ไม่สะดวกนักแต่ก็พอเพียง
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
ถนน จามเทวี เมือง อำเภอเมืองลำพูน ลำพูน 51130
053 534 865