สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน จังหวัดบึงกาฬ
เหนือสุดแดนสยาม คือ เชียงราย ใต้สุด คือ นราธิวาส สุดปลายอีสาน คือจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย บึงกาฬ จังหวัดเล็กๆ ที่หลายคนอาจยังมาเที่ยวไม่ถึงแบบเจาะลึก แต่ก่อนเหตุผลที่มาบึงกาฬ เพราะอยากมาเที่ยว ภูทอก สถานที่สุด unseen ขึ้นชื่ออันดับต้น แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ภูทอก แต่ยังมีถ้ำนาคาที่กำลังฮอตสุดๆ ในตอนนี้ กลายเป็น บึงกาฬ โฉมใหม่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ภูทอก แต่ยังมีสถานที่สวยแปลกเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง แต่ละแห่งต้องบอกว่าสวยงามแปลกตาคุ้มค่ากับการนั่งรถมาไกล กับ 9 ที่เที่ยวเด่นบึงกาฬ มาถึงแล้วต้องไป
ภูทอก บึงกาฬ
ภูทอก เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จ.บึงกาฬ โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไป สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการ เดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้างบันได เวียนไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้เดินแบบ ตรงทอดยาวจนถึงจุดสูงสุดของยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียนรอบเขาซึ่งจะ ได้เห็น มุมมองที่แตกต่างไปเรื่อย ๆ บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำ สัตบุรุษ ให้พ้นโลกแห่งโลกียะ สู่โลกแห่ง โลกุตระหรือโลกแห่ง การหลุดพ้นด้วย ความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16 เมษายน ของทุกปี
ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกา มาอาศัย อยู่มาก จึงเรียกกันว่า “ภูรังกา” แล้วเพี้ยนมาเป็น “ภูลังกา” ในที่สุด ส่วนบนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชีรอบชั้นมีระยะทาง ประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ
ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์ จวนด้วย พื้นที่สะอาดกว้างขวาง ดูแล้วร่มเย็นมาก เหมาะสำหรับการนั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับนักแสวงบุญหรือผู้ที่ใฝ่หาความ สงบ ตลอดตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ มีที่ให้นั่งพักสำหรับความอ่อนล้า ระหว่างทาง เดิน เป็นระยะ ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหารอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลก และน่าอัศจรรย์ที่สุดคล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่าง ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่าง ชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา
ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวิที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผา สูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาค สัมผัส กับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี
ชั้นที่ 7 จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะ เกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ “ระวังงู” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็น ทางอ้อมต้อง เดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่
จุดเด่นของภูทอกคือบันไดและสะพานไม้เดินชมทัศนียภาพแบบ 360 องศา มีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม โดยไม่ใช้เครื่องจักรกลใดๆ ทั้งหมดเกิดจากฝีมือ แรงงาน และภูมิปัญญาชาวบ้าน และที่สำคัญก็คือ ความอดทน
“ภูทอก” ตั้งอยู่ที่บ้านนาคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
คำว่า “ภูทอก” ในภาษาอีสานแปลว่า “ภูเขาที่โดดเดี่ยว”
แต่ถึงแม้ว่าจะได้ชื่อว่าภูเขาโดดเดี่ยว ภูทอกก็ประกอบด้วยภูเขาหินทรายสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่สองลูกเรียงกัน คือ “ภูทอกใหญ่” และ “ภูทอกน้อย” รายล้อมไปด้วยป่าทึบซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิด จวบจนเมื่อปี ๒๕๑๒ พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐฺ ลูกศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ ได้เข้ามาจัดตั้งแหล่งบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างวัดเจติยาคีรีวิหาร และสะพานนรก-สวรรค์ สะพานไม้ที่สร้างเวียนขึ้นสู่ยอดภูทอกน้อยอย่างพิลึกพิลั่นมหัศจรรย์
สะพานนรก-สวรรค์
“สะพานนรก-สวรรค์” เป็นสะพานไม้เวียนรอบจากเชิงเขาขึ้นสู่ยอดภูทอกน้อยที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๕๐ เมตร (ใกล้เคียงตึก ๖๐-๗๐ ชั้น) สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระเณรและชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่โดยรอบ เริ่มต้นการสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้เวลาทั้งหมด ๕ ปี จึงแล้วเสร็จ
พระอาจารย์จวนผู้บุกเบิกการก่อสร้าง หวังให้สะพานสื่อความหมายถึงการเดินไปตามเส้นทางธรรมที่สามารถน้อมนำสัตบุรุษให้หลุดพ้นความทุกข์ทั้งปวงจนอยู่เหนือโลกได้นั้น ต้องเป็นผู้มีความเพียรพยายาม ความอดทน และความมุ่งมั่น อีกทั้งยังต้องรู้จักประคับประคอง ควบคุมรักษาสติสัมปชัญญะไว้ให้จงดี ไม่ยอมให้ตกอยู่ในความประมาท จึงจะสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ล่วงพ้นไปสู่จุดหมายในท้ายที่สุดได้ (บันไดและสะพานไม้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ความสูงชันเป็นดุจดังอุปสรรคต่างๆ ยอดภูทอกน้อยเหมือนกับจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง หากเดินทางด้วยประมาทขาดสติ พลาดพลั้งร่วงหล่น ตกลงมาระหว่างทางก็อาจจะต้องเจ็บปวดรวดร้าว ราวกับตกนรก)
“สะพานนรก-สวรรค์” มีทั้งหมด ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
ชั้นที่ ๑-๒ เป็นบันไดไม้สู่ชั้นที่ ๓ ซึ่งเริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา เส้นทางเดินรอบชั้นที่ ๓ มีโขดหิน ลานหิน หน้าผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงาครึ้ม จากชั้นที่ ๓ จะมีทางแยกสองทาง ทางแยกซ้ายมือเป็นบันไดทางลัดสู่ชั้นที่ ๕ ส่วนทางแยกขวาจะเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๔
ชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองลงไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ “ภูลังกา” ในเขตอำเภอเซกา ชั้น ๔ นี้เป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร มีจุดให้นั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์ระหว่างทางเป็นระยะๆ
ชั้นที่ ๕ เป็นที่ตั้งของศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินมีถ้ำตื้นๆ หลายถ้ำ มีลานกว้างนั่งพักได้หลายแห่ง หากเดินไปทางทิศเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติซึ่งทอดยาวเชื่อมกับสะพานไม้สู่ “วิหารพระพุทธ” ที่สร้างขึ้นอย่างแปลกประหลาดพิสดารจนดูราวกับมีใครนำหินก้อนใหญ่ไปวางทับไว้บนหลังคาวิหาร วิหารพระพุทธนี้เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และถือเป็นจุดชมทิวทัศน์ซึ่งมีความงดงามมากที่สุดบนภูทอกน้อยเลยทีเดียว
การเดินขึ้นมาตาม “สะพานนรก-สวรรค์” ส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่ชั้น ๕ เนื่องจากชั้นที่ ๖ เป็นสะพานไม้แคบๆ เวียนรอบเขาเกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียว แต่หากลองแข็งใจเดินขึ้นมายังสะพานชั้นที่ ๖ ดูก็จะพบจุดชมทิวทัศน์สวยๆ ที่สามารถถ่ายภาพ “วิหารพระพุทธ” จากมุมสูงได้ สะพานชั้นที่ ๖ มีความยาวรอบเขาทั้งหมดประมาณ ๔๐๐ เมตร
ส่วนชั้นที่ ๗ จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก ๒ ทางเพื่อขึ้นดาดฟ้าชั้น ๗ ทางแรกเป็นทางชันต้องเกาะเกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก ควรใช้อีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางอ้อม ต้องเดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้นที่ ๗ หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ทึบ มีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ไม่แนะนำสำหรับการท่องเที่ยว เพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษ
สะพานไม้ที่ยื่นออกจากหน้าผาชันสูงนี้ กำลังท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลก ภาพที่เราเห็นนอกจากจะทำให้หวาดเสียวแล้ว ยังรู้สึกได้ถึงความอัศจรรย์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่แปลกเลยที่สถานที่แห่งนี้จะเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งบันไดไม้แต่ละขั้น ประหนึ่งบันไดขึ้นสู่สวรรค์
ความสวยงามชวนตื่นตา น่าพิศวงของ “วิหารพระพุทธ” และ “สะพานนรก-สวรรค์” ของวัดเจติยาคีรีวิหาร บนภูทอกน้อยนั้นน่าจะมีคุณค่าสมควรแก่การเรียกได้ว่า “อัศจรรย์เมืองไทย (Amazing Thailand)” จริงๆ
ที่พัก
1.สุขสันต์ รีสอร์ท
วัดภูทอก • อยู่ห่างออกไป 14.9 กม.
ราคาย่อมเยา บริการเป็นกันเอง ไม่ไกลจากตัวเมือง
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
ตำบล ชุมภูพร อำเภอ ศรีวิไล บึงกาฬ 38220
042 490 997
2.บ้านทุ่งเคียงบึง
วัดภูทอก • อยู่ห่างออกไป 25.1 กม.
ที่พักสะอาด บริการดี ที่จอดรถปลอดภัย บรรยากาศดี นอนหลับสบาย สถานที่อยู่ใกล้ริมบึงโขงหลง หาทานข้าวร้านแถวริมบึงได้สะดวกมาก
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
223, BAN KAMSOMBOON, อำเภอ บึงโขงหลง บึงกาฬ 38220
086 330 1889
3.Thai Guest House เรือนไทยเกสต์เฮาส์ บึงโขงหลง
วัดภูทอก • อยู่ห่างออกไป 25.8 กม.
ที่พักอยู่กลางเมืองล้อมด้วยร้านค้ามีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ มีอาหารเช้าให้ด้วยข้าวต้มอร่อยปาท่องโกขนมปังปิ้งกาแฟ ต้ำส้มรรบเลยคุ้มค่ามาก เจ้าของใจดีช่วงโควิตห้อง500อัพเกรดให้เป็นห้อง700฿ใจดีมากเลยสะอาด
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่
195/2 หมู่ 12 ตำบล บึงโขงหลง อำเภอ บึงโขงหลง บึงกาฬ 38220
083 442 9560