สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน จังหวัดกาฬสินธุ์ วันนี้เราจะพาทุกท่านย้อนยุคกันไปชมความยิ่งใหญอลังการของพิพิธภัณฑ์สิรินธรกันนะครับ เป็นยังไงตามกันมาได้เลยครับ

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ่มข้าว หรือพิพิธภัณฑ์สิรินธร  เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ แห่งแรกของประเทศไทย อยู่ที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา ที่มีการจัดแสดงซากกระดูก ไดโนเสาร์ และแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในมุมมองต่างๆ ทั้งเชิงวิชาการ การอนุรักษ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธร ต้นกำเนิดของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มาจากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในปี พ.ศ. 2537 โดยท่านพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน  ต่อมาในปลายปีเดียวกัน ทางคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรม ทรัพยากรธรณี

ได้เริ่มเข้าไปทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่าที่ภูกุ้มข้าวเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย โดยนักวิชาการ ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ในสมัยดึกดำบรรพ์บริเวณภูกุ้มข้าวเป็นธารน้ำแข็งโบราณที่มีเหล่าไดโนเสาร์มาดื่มกินน้ำ แต่ว่าเกิดภัยพิบัติ เฉียบพลันขึ้น ทำให้ไดโนเสาร์ล้มตายบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก  จากนั้นทีมสำรวจก็ได้ลงมือขุดค้น พบกระดูกและซากดึกดำบรรพ์ ของไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่นี่  ทางกรมทรัพยากรฯจึงได้ตั้งเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ่มข้าวขึ้นในปี 2538  โดยในวันที่ 24 พ.ย. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์และจัดตั้ง โครงการพัฒนา พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น  จนพัฒนาเป็น พิพิธภัณฑ์  ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารีว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร”

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวไดโนเสาร์แบบครบวงจร ทั้งแสง สี เสียง ตระการตาและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แบ่งเป็น 9 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 การกำเนิดโลกและจักรวาล   โซนที่ 2 กำเนิดสิ่งมีชีวิต โซนที่ 3 มหายุคพาลิโอโซอิก มหายุควิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณ โซนที่ 4.1 มหายุคมีโซโซอิก มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์  โซนที่ 4.2 ไดโนเสาร์ไทย  โซนที่ 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์ไทย  โซนที่ 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์  โซนที่ 7 มหายุคซีโนโลอิก มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  โซนที่ 8 เรื่องราวของมนุษย์ นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังมีบริการจัดค่ายเยาวชน มีห้องประชุม ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึกไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วย

ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ่มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537 พบว่า ภูกุ่มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบ กระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่ง กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัว อยู่บนไหล่เขาของภูกุ่มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร

พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เปิดให้บริการวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 9.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม  คนไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท  ชาวต่างประเทศ เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม www.sdm.dmr.go.th
การเดินทาง  ใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ ทางหลวง 227 ประมาณ 28 กิโลเมตร  ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร  มีทางแยกขวาไปอีก 1 กิโลเมตร  จะถึงพิพิธภัณฑ์สิรินธร

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เดิมเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ในปี พ.ศ.2537 พบโครงกระดูกของไดโนเสาร์กินพืช ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ในบริเวณที่เป็นหลุมขุดค้นปัจจุบัน โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา คณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณีจึงได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่า ภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งที่พบโครงกระดูกไดโนเสาร์กินพืชที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย มีการพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ เป็นกระดูกชนิดกินพืชมากกว่า 7 ตัว จำนวนกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น ที่สำคัญคือ พบชิ้นส่วนของหัวกระโหลก ฟันและกราม และโครงกระดูกที่เรียงรายต่อกัน เกือบจะสมบูรณ์ทั้งตัวอยู่ด้วย โครงกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมีรูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร

เมื่อปี พ.ศ.2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ ทรงจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยให้มีการสร้างอาคารหลุมขุดค้นชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากโครงกระดูก ในปี พ.ศ.2539 กรมทรัพยากรธรณีได้สร้างอาคารวิจัยขึ้น โดยมีพื้นที่ใช้งานจำนวน 375 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย

 

ในปี พ.ศ.2550 ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร ถือเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “พิพิธภัณฑ์สิริธร”

 

พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการ จำนวน 2 อาคาร อาคารแรกจัดแสดง 2 ส่วน คือ นิทรรศการถาวรและนิทรรศการชั่วคราว เริ่มจากชั้นที่ 2 ใช้โถงพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ บริเวณโถงมีการจัดแสดงหุ่นจำลองไดโนเสาร์สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส และข้อมูลเกี่ยวกับธรณีวิทยาของประเทศไทย ภายในนิทรรศการถาวรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 8 โซน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

 

โซนที่ 1 จักรวาลและโลก

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาล โลก สิ่งมีชีวิต รวมทั้งไดโนเสาร์ซึ่งถือกำเนิดมานานแล้ว

 

โซนที่ 2 เมื่อชีวิตแรกปรากฏ

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อราว 3,400 ล้านปีก่อน เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์ร้อนจัดและปั่นป่วน เนื่องจากภูเขาไฟระเบิดและการพุ่งชนของอุกกาบาต โลกค่อยๆ เย็นตัวลง ทั้งบรรยากาศและน้ำช่วยนำทางไปสู่พัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

 

โซนที่ 3 พาลีโอโซอิก

มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับมหายุคพาลีโอโซอิกซึ่งมีระยะเวลา 542 ล้านปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ มีการจำลองของสภาพภูมิประเทศที่เคยเกิดขึ้นในยุคนั้น พร้อมทั้งหุ่นจำลองของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในยุคต่างๆ

พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์

โซนที่ 4 มหายุคมีโซโซอิค

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับมหายุคมีโซโซอิคซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 251-65 ล้านปีก่อน

 

โซนที่ 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์โดยเฉพาะ เช่น ลักษณะของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ การกินอาหาร การล่าเหยื่อ การป้องกันตัว การเลี้ยงลูกอ่อน และการสูญพันธุ์

 

โซนที่ 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนักบรรพชีวินวิทยาซึ่งทำงานศึกษาอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ทั่วโลก โดยมีการเล่าเรื่องราวผ่านจอวิดิทัศน์แสดงเหตุการณ์จำลอง

 

โซนที่ 7 ซีโนโซอิก

มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดแสดงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งออกเป็น 7 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน สมัยอีโอซีน สมัยโอลิโกซีน สมัยไมโอซีน สมัยไพลโอซีน สมัยไพลสโตซีน และสมัยโฮโลซีน

 

โซนที่ 8 เรื่องของมนุษย์

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ และการสร้างอารยธรรมของมนุษย์ผ่านวัตถุจัดแสดงต่างๆ เช่น โครงกระดูกจำลองของมนุษย์โบราณ ภาพวาด ภาพถ่าย แผนผัง และวิดีทัศน์

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

• กระดูกส่วนต้นขาของไดโนเสาร์อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่พบในประเทศไทยอายุประมาณ 209 ล้านปี

• กระดูกไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย

ที่พัก

1.Techit Hill
พิพิธภัณฑ์สิรินธร • อยู่ห่างออกไป 2 กม

Techit Hill
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

ซอย สุขาภิบาล 3 ตำบล โนนบุรี อำเภอ สหัสขันธ์ กาฬสินธุ์ 46140

094 123 5559

2.สู่ขวัญ บูทิคโฮม

พิพิธภัณฑ์สิรินธร • อยู่ห่างออกไป 2.1 กม

สู่ขวัญ บูทิคโฮม

โรงแรมดีมาก สงบ ห้องพักสะอาด สวย มีสไตล์ เหมาะสำหรับคนที่ชอบความเป็นส่วนตัว
ข้อมูลติดต่อและที่อยู่

49 Moo.10, Sahatsakhan, Sahatsakhan, Kalasin Kalasin 46140

094 540 2607