สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน จังหวัดชัยภูมิ วันนี้เราขอพาทุกท่านออกจากจังหวัดขอนแก่นมายังจังหวัดชัยภูมิกันนะครับที่ปรางค์กู่ ปรางค์กู่ เป็นโบราณสถานที่สำคัญ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นที่เคารพของคนในจังหวัดชัยภูมิอีกด้วย ปรางค์กู่ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตมากนัก

แต่มีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากขอม เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล(โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่ เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ส่วนประกอบต่างๆ ของโบราณสถานปรางกู่

ซุ้มโคปุระ คือ ที่อยู่ของพาหนะของเทพเจ้าที่รักษาพระองค์ มีเทพประจำ 8 ทิศ

ปรางค์ประธาน มีพระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ด้านใน มีเศียรที่ทำการสร้างขึ้นมาใหม่

บรรณาลัย เป็นที่เก็บยาอยู่ขวามือของโบราณสถาน มีแท่นรูปเคารพ (แท่นโยนี) อยู่ข้างใน

กำแพงล้อมปรางค์และประตูซุ้มทางเข้า-ออก

บ่อน้ำ

ปรางค์กู่ ชัยภูมิ

ด้านหน้าทางเช้าล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์

ส่วนองค์ประธานตังอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง  เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา หน้าบันที่แกะสลักหินเป็นรูปพระโพธิสัตวอวโรกิเตศวร 4 กรรวมถึงทับหลังที่อยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกที่มีรูปของพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล กับรูปนางปรัชญาปารมิต ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี  ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น

ปรางค์กู่ ชัยภูมิ

ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่น ๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18 นักท่องเที่ยวที่สนใจมาเยือน เดินทางจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร

ที่พัก

1.ปรางค์เคียงนา รีสอร์ท

ปรางค์เคียงนา รีสอร์ท

ทำเลกลางทุ่งนาที่สวยงามไม่มีที่ไหน แต่ไม่ไกลจากตัวเมือง พนักงานยอดเยี่ยมและอาหารอร่อย. ราคาที่เหมาะสมเกินไป ตำบล พิมาย อำเภอ ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ 33170